วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

นกฟินิกซ์ ตอน3




ฟีนิกซ์ของกรีกโบราณ
ว่ากันว่าเรื่องราวเริ่มแรกของนกฟีนิกซ์มาจากวรรณกรรมกรีกโบราณที่ชื่อว่า Account of Egypt ของกวีเฮโรโดตัส ประมาณ 430 ปี ก่อนคริสตกาล ตามตำนานกล่าวว่า นกฟีนิกซ์มีอายุ 500 ปี เมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะหมดอายุขัย นกฟีนิกซ์จะล่วงรู้ถึงชะตากรรม มันจะสร้างรังจากไม้เครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม แล้วนั่งคอยที่กองฟืนไม้หอมและร้องเพลงอย่างสำราญใจ เมื่อแสงอาทิตย์แรกสาดส่อง นกฟีนิกซ์จะแผดเผาตนเองกลายเป็นเถ้าถ่าน จากเถ้าถ่านนั้นนกฟีนิกซ์หนุ่มตัวใหม่จะกำเนิดขึ้น
ภารกิจแรกที่ฟีนิกซ์หนุ่มต้องกระทำก็คือ การรวบรวมเถ้าถ่านของพ่อแม่แล้วนำไปฝังที่วิหารเฮลิโอโปลิส หรือนครแห่งตะวันในอียิปต์ จากนั้นก็จะบินกลับมาที่อาระเบียและใช้ชีวิตอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนร่างอีก ครั้ง
จุดกำเนิดตำนานเกี่ยวกับนกฟีนิกซ์นี้ อาจมาจากหนังสือแห่งเวทมนตร์เล่มหนึ่งที่ชื่อว่า Book of Dead ซึ่งกล่าวถึงนกยักษ์ลักษณะคล้ายนกฟีนิกซ์ นกยักษ์ตัวนี้เป็นต้นแบบของวิญญาณอิสระที่ลุกขึ้นมาจากกองเพลิง และบินไปยังเฮลิโอโปลิสเพื่อประกาศยุคใหม่ เพราะว่าดวงอาทิตย์ได้สาดแสงไล่หลังนกที่บินจากตะวันออกไปยังตะวันตก นกจึงปรากฏตัวพร้อมกับเช้าวันใหม่จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งไฟและดวงอาทิตย์ ไปในที่สุด

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

นกฟินิกซ์ ตอน2


นกฟีนิกซ์ของอียิปต์โบราณ
ฟีนิกซ์ปรากฏตำนานของพวกอียิปต์โบราณ ในฐานะของสัตว์เทพในตำนานซึ่งคู่ควรแก่การบูชา ยกย่อง เคารพ ฟีนิกซ์เกี่ยวข้องกับเทพแห่งไฟ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ขนนกของฟีนิกซ์นั้นจะออกเป็นประกายเหลืองทองคล้ายเปลวไฟ บ้างก็ว่าปกคลุมด้วยเปลวไฟทั้งตัวทีเดียว
ขนาดของนกฟีนิกซ์นี้จะมีขนาดเท่านกอินทรีตัวโต จงอยปากและส่วนขาเป็นสีทอง ประกายขนสีแดงถึงเหลืองทอง มีเสียงร้องที่ไพเราะดังเสียงดนตรี รูปร่างสวยสง่างาม บางครั้งหยิ่งผยอง บางครั้งเปี่ยมด้วยความเป็นมิตร บางตำนานเล่าว่านกนี้สามารถฟื้นชีวิตให้กับผู้ตายได้ และสามารถฟื้นพลังทั้งหมดให้กลับสู่ปกติได้ เนื่องจากเป็นสัตว์เวทตัวหนึ่งภายใต้เทพแห่งไฟ บางครั้งจะพบว่าสามารถใช้มนตร์ไฟได้ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่นิสัยอ่อนโยน เพลงของฟีนิกซ์มีเวทมนตร์สามารถกระตุ้นความกล้าหาญ แห่งจิตใจบริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดร้าย น้ำตาของนกฟีนิกซ์มีพลังในการรักษาบาดแผลได้
นกฟีนิกซ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอมตะ มีชีวิตยั่งยืนนิรันดร์ เพราะมันสามารถฟื้นคืนชีพได้ เมื่อร่างกายสิ้นอายุขัย (500 ปีหรือ 1461 ปี) ตัวจะลุกเป็นไฟ จากนั้นฟีนิกซ์ก็จะฟื้นจากกองขี้เถ้ามาเป็นลูกนกใหม่
ตำนานนกฟินิกซ์ในอียิปต์
อียิปต์เรียกนกฟินิกซ์ว่าบีนู (Benu) ซึ่งหมายถึง นกฮีรอนสีม่วง (heron เป็นนกกินปลาชนิดหนึ่ง) ในช่วงฤดูน้ำหลากของแม่น้ำไนล์ซึ่งหมายถึงเวลาที่แม่น้ำสายสำคัญในอียิปต์ได้เอ่อล้น ท่วมผืนแผ่นดินที่แห้งแล้วให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้งนั้น ผู้คนจะมองเห็นเจ้านกบีนูหรือนกฟินิกซ์นี้จากบนที่สูง และแลดูคล้ายกับพระอาทิตย์กับลังลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งผู้คนก็เชื่อมโยงเข้าไปเกี่ยวกับเทพรา (เทพดวงอาทิตย์) ที่วิหารเฮลิโอโปลิส ซึ่งตำนานของเมืองเฮลิโอโปลิสกล่าวว่า บีนูจะถือกำเนิดใหม่จากเปลวไฟอันศักดิ์สิทธ์ ณ วิหารของเทพเจ้ารา โดยบีนูจะขึ้นไปนอนอยู่บนแท่นที่เรียกว่า bnbn-stone

นกฟินิกซ์


นกฟินิกซ์
ชื่อที่คนจีนเรียกว่า นกฟงหวง เป็นนกที่มีความหมายของความเป็นอมตะ การเกิดใหม่ และชีวิตหลังความตาย ซึ่งในตำนานของเทพเจ้ากรีกและอียิปต์ นกฟีนิกซ์ยังมีความเกี่ยวข้องกับเทพแห่งดวงอาทิตย์อีกด้วย
นกฟินิกซ์คือตัวแทนแห่งไฟ หมายถึงความรุ่มร้อน ความอบอุ่นและอ่อนโยน ไฟมีความแตกต่างจากฟ้าตรงที่ไฟยืดหยุ่นกว่า เปลวไฟอ่อนลู่ได้ตามสภาวะ บางครั้งจึงดูคล้ายโลเล ไม่คงสภาพ ไร้กฎเกณฑ์
นกฟินิกซ์ยังมีความหมายถึงความเป็นอมตะอีกด้วย เพราะเมื่อถึงอายุขัยแล้ว มันก็จะเผาไหม้ตัวเองด้วยไฟแล้วฟื้นคืนชีพขึ้นมีอีกครั้ง ตำนานแห่งฟินิกซ์ปรากฏอยู่ในอารยธรรมโบราณมากมาย
นกฟินิกซ์มีขนาดใกล้เคียงกับนกอินทรี มีสีแดงเข้มและมีแผงคอสีทองหรือผสมด้วยสีแดงและสีน้ำเงิน
นกฟินิกซ์เป็นนกที่มีอยู่ตัวเดียว อาศัยอยู่ในอารเบีย เรื่องราวเริ่มแรกของนกฟินิกซ์มาจากวรรณกรรมกรีกโบราณที่ชื่อว่า Account of Egypt ของกวีเฮโรโดตัส ประมาณ 430 ปีก่อนคริสตกาล
ตามตำนานกล่าวว่า นกฟินิกซ์มีอายุ 500 ปี เมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะหมดอายุขัย นกฟินิกซ์จะล่วงรู้ถึงชะตากรรม มันจะสร้างรังจากไม้ฟืน และนั่งคอยที่กองฟืนและร้องเพลง เมื่อแสงอาทิตย์แรกสาดส่อง นกฟินิกซ์จะแผดเผาตนเองกลายเป็นเถ้าถ่าน
จากเถ้าถ่านนั้นนกฟินิกซ์ตัวใหม่จะเกิดขึ้น งานแรกที่มันจะต้องทำ คือ การรวบรวมเถ้าถ่านของพ่อแม่และนำฝังที่เฮลิโอโปลิส (เมืองแห่งตะวัน) และบินกลับไปยังอารเบีย
จุดกำเนิดตำนานเกี่ยวกับนกฟินิกซ์นี้อาจมาจากหนังสือแห่งเวทมนตร์เล่มหนึ่งที่ชื่อว่า Book of Dead ในหนังสือนี้กล่าวถึงนกยักษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายนกฟีนิกซ์ นกยักษ์ตัวนี้เป็นต้นแบบของวิญญาณอิสระซึ่งลุกขึ้นมาจากกองเพลิงและบินไปยังเฮลิโอโปลิสเพื่อประกาศยุคใหม่ เพราะว่าดวงอาทิตย์ได้สาดแสงไล่หลังนกซึ่งบินจากตะวันออกไปยังตะวันตก
นกจึงปรากฏตัวพร้อมกับรุ่งอรุณ การที่นกฟินิกซ์สามารถเกิดใหม่ได้จากเถ้าถ่านของตนเอง ความนัยจากสัญลักษณ์นี้ทรงอำนาจมาก ซึ่งเป็นตัวแทนของการฟื้นคืนจากความตาย และยังสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กวี จนเรื่องราวแห่งนกฟินิกซ์แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวรรณกรรมยุโรปทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

เต่าดำ ตอน2


เมื่อถึงสมัยฉินและฮั่น สัตว์เทพทั้งสี่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะตัวแทนของฤดูกาลและสีสันทั้งสี่ ในช่วงเวลาดังกล่าว สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏในศาสตร์วิทยาการของจีนหลากหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่น ในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทางเดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่งของสัตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่างดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของธงนำทัพไป

ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำในฐานะเทพเจ้าผู้คุ้มครองมนุษย์ ต่างมีความสำคัญขึ้น ถูกยกให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำ ก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดงเป็นเทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รักษาประตูทางเข้าสู่มรรคาแห่งเต๋า

เต่าดำ ประจำทิศเหนือ สีดำ ธาตุน้ำ ฤดูหนาว เต่าดำหรือเสวียนอู่ มีรูปลักษณ์เป็นเต่า แต่มีเกล็ดคล้ายงู มีลักษณะร่วมกันของเต่าและงู บ้างใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเต่าที่มีงูพันรัดกลางลำตัว แต่เดิมมาจากการใช้กระดองเต่าในการทำนายทายทัก ซึ่งหมายถึงการให้เต่านำคำถามลงไปสู่โลกแห่งวิญญาณเพื่อนำคำตอบกลับมายังโลกมนุษย์ อีกทั้งกระดองเต่ามีสีดำ จึงปรากฏในรูปเต่าดำ ภายหลังได้มีการขยายความออกไป โดยเห็นว่าเต่าอาศัยอยู่กับน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่จนถึงท้องทะเลกว้าง จึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้ง เต่ามีอายุยืนนาน จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุวัฒนะ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เต่าดำ


เต่าดำ

นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง” พัฒนาการของแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสตร์พยากรณ์และคติความเชื่อในลัทธิเต๋าของชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี

ชาวจีนโบราณแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ จากการสังเกตหมู่ดาวบนท้องฟ้า จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวของหมู่ดาวเทียบเข้ากับลักษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานตามความเชื่อของตน โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว จากตำนานการปรากฏขึ้นของจักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวันออก ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว ทิศใต้แทนกลุ่มดาวหงส์แดงและทิศเหนือ แทนกลุ่มดาวเต่าดำ แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง รวม 28 ดวง

ภายในสุสานยุคจั้นกั๋ว ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนฝาของภาชนะเคลือบใบหนึ่ง ซึ่งบอกเราว่า การกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้า ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าเวลานี้อีกนานนัก สัตว์เทพทั้งสี่ต่างยึดครองน่านฟ้าทั้งสี่ทิศ กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ จนกระทั่งการศึกษาว่าด้วยศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์ ฮวงจุ้ย อินหยาง เป็นที่แพร่หลาย สัตว์เทพทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างในวังหลวง ได้รับการประดับตกแต่งเป็นลวดลายของสัตว์เทพทั้งสี่ ส่วนประตูทางทิศเหนือของวังหลวงมักได้ชื่อว่า ประตูเสวียนอู่หรือประตูเต่าดำ เนื่องจาก หงส์แดง แทนสัญลักษณ์ของไฟ ขณะที่สถาปัตยกรรมโบราณของจีนล้วนแต่สร้างด้วยไม้ จึงมักไม่ปรากฏรูป แต่จะปรากฏในเชิงสัญลักษณ์อยู่บนกำแพง ทาสีแดงแทน

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

พยัคฆ์ขาว



เสือขาวหรือพยัคฆ์ขาว เสือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล เนื่องจากประจำทิศตะวันตก ธาตุทอง มีสีขาว จึงกลายเป็น เสือขาว เป็นตัวแทนของอำนาจบารมี ความเคารพยำเกรงและการทหาร เนื่องจากเสือเป็นนักล่า กินเนื้อ ดังนั้นจึงมีภาพลักษณ์เป็นเทพเจ้าแห่งศึกสงครามและการล่าสังหารอีกด้วย สถานที่หรือชัยภูมิในสมัยโบราณหากมีชื่อของเสือขาว จึงมักมีนัยสำคัญทางทหาร นอกจากนี้ยังใช้ในการตั้งชื่อหน่วยกำลังรบ และใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในการบัญชาการเคลื่อนทัพ หรือสลักเป็นลวดลายคู่กับมังกรเขียวบนบานประตูทั้งสองข้างเพื่อป้องกันสิ่ง ชั่วร้ายตามตำราจีนโบราณ

เสือขาวเป็นธาตุโลหะ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลุมศพตามตำราจีนโบราณในพิธีศพ ของจักรพรรดิจีน มักจะปรากฏสัญลักษณ์ของเสือก้มหัวเคารพศพของจักรพรรดิ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเชื่อกันว่าเสือเป็นเทพเจ้าแห่งการปกป้อง การคุ้มครอง เป็นราชาแห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง รวมถึงเป็นราชันย์แห่งขุนเขาด้วย มีหน้าที่ในการขับไล่ศัตรูของจักรพรรดิ และคอยคุ้มครองขับไล่ปีศาจร้ายทั้งปวงมิให้เข้ามาทำร้ายบ้านเมือง

เครื่องประดับหยกที่แกะสลักเป็นรูปเสือถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการรบและการทหาร ซึ่งจะเห็นได้จาก ตราอาญาสิทธิ์รูปเสือ หรือตราอาญาสิทธิ์ทางทหาร ใช้เป็นหลักฐานในการมอบหมายอำนาจทางการทหารและการถ่ายทอดคำสั่งเคลื่อนพลใน สมัยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนเสมอ เมื่อต้องการเคลื่อนทัพก็จะมอบส่วนด้านซ้ายให้กับแม่ทัพที่นำทัพไป ส่วนด้านขวาจะเก็บรักษาไว้กับตัวเจ้าผู้ครองแคว้นนั้น เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายกำลังพลเจ้าแคว้นก็จะมอบตราอาญาสิทธิ์ส่วนขวาให้กับ ผู้ที่ได้ ้ รับมอบอำนาจ เมื่อผู้รับมอบอำนาจได้พบกับแม่ทัพที่คุมกำลังพล ต่างฝ่ายก็จะแสดงตราอาญาสิทธิ์ส่วนของตน จากนั้นนำมาประกบเข้าด้วยกันเพื่อเป็นหลักฐานในการถ่ายทอดคำสั่งจากเบื้องบน ผู้รับมอบอำนาจจึงจะสามารถเคลื่อนย้ายกำลังทหารได้

จุดกำเนิดของเสือขาวเชื่อ กันว่า เสือขาวเป็นเพียงสัตว์ในตำนาน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ผู้คนเชื่อว่าเสือขาวเป็นราชาของปีศาจ มีอายุยืนมาก ตำนานได้กล่าวไว้ว่าคราใดที่เสือขาวมีอายุ 500 ปีมันจะลงมาจุติครั้งหนึ่ง หางของมันจะกลายเป็นสีขาวทั้งหมด และจะจุติเป็นมนุษย์ในช่วงที่มีจักรพรรดิจีนปกครองอาณาจักรด้วยความเป็นธรรม อย่างที่สุด เพื่อสร้างสันติสุขให้กับโลกคัมภีร์แห่งถัง กล่าวถึงการลงมาจุติของเสือขาวไว้ว่า เสือขาวได้ลงมาจุติเป็นแม่ทัพในรัชสมัยของจักรพรรคิถังไถ่จง นามว่า หลัวเชิง และมังกรเขียวได้ลงมาจุติเป็นแม่ทัพ ต้านซยฺงซิน ทั้งสองทำสัญญาเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับฉิน ชูเป่า เชิ่งจือเจี๋ย และยูฉือ จิงเต้อ และเชื่อว่าหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดใหม่ในสมัยราชวงค์ถัง และ ราชวงศ์เหลียว เสือขาวเป็นเซวฺย์ เหรินกุ้ย และมังกรเป็นเจ้าชายเหอ ซูเหวิน ทั้งสองคนเป็นศัตรูกัน

เสือขาวกับการกำหนดหมู่ดาวภาย ในสุสานยุคจั้นกั๋ว (ราว 433 ปีก่อนคริสตกาล) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนภาชนะเคลือบใบหนึ่ง จึงมีหลักฐานที่แสดงว่า การกำหนดหมู่ดาวของจีนได้มีมานานแล้ว และถูกกำหนดโดยเทพทั้งสี่

กลุ่มดาวเสือขาวนี้เอง เป็นตำนานของซิยิ้นกุ้ย แม่ทัพสมัยถังผู้พิชิตเกาหลี ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเป็นกลุ่มดาวเสือขาวลงมาเกิด

กลุ่มดาวเสือขาว จะประกอบด้วยกลุ่มดาวต่างๆดังนี้ คือกลุ่มดาวขุย มีดาว 16 ดวง

กลุ่มดาวเหลา มีดาว 3

ดวงกลุ่มดาวเว่ย มีดาว 3 ดวง

กลุ่มดาวมาว มีดาว 7 ดวง

กลุ่มดาวปี้ มีดาว 8 ดวง

กลุ่มดาวจือ มีดาว 3 ดวง

กลุ่มดาวเซิน มีดาว 7 ดวง

มังกรเขียว


มังกรเขียวเป็นสัตว์ ประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ
ชาวจีนโบราณ ถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคของจักรพรรดิเหลืองเป็นต้นมา มังกรก็กลายเป็นตัวแทนของผู้มีเชื้อสายจีนทั้งมวล โดยเฉพาะเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏภาพวาดและตำนานเกี่ยวกับหวงตี้หรือจักรพรรดิเหลืองที่ทรงมังกรเป็นพาหนะเหินบินสู่ฟ้า มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงอีกด้วย
ตำนานกล่าวว่า มังกรเขียว มีลำตัวเป็นงู หัวเป็นกิเลน หางเป็นปลา มีเครายาว มีเขา เท้าคล้ายกรงเล็บ รูปลักษณ์เป็นมังกรเหิน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เนื่องจากอยู่ประจำทิศตะวันออก ธาตุไม้ มีสีเขียว จึงเป็นมังกรเขียว
คัมภีร์แห่งถัง กล่าวถึงการลงมาจุติของมังกรเขียวไว้ว่า มังกรเขียวได้ลงมาจุติเป็นแม่ทัพในรัชสมัยของจักรพรรคิถังไถ่จง นามว่า ต้านซยฺงซิน และเสือขาวได้ลงมาจุติเป็นแม่ทัพหลัวเชิง ซิน ทั้งสองทำสัญญาเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับฉิน ชูเป่า เชิ่งจือเจี๋ย และยูฉือ จิงเต้อ และเชื่อว่าหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดใหม่ในสมัยราชวงค์ถัง และ ราชวงศ์เหลียวมังกรเป็นเจ้าชายเหอ ซูเหวิน และเสือขาวเป็นเซวฺย์ เหรินกุ้ย ทั้งสองคนเป็นศัตรูกัน